วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

ข้อมูลและสารสนเทศ


ข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล (DATA) คือข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ ข้อมูล จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการ รวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย หรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้นเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ หรือมีความเกี่ยวข้องกันเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่างๆได้สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆแต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมายสารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น




ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆที่มีอยู่ในธรรม ชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่างๆที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูลอยู่ในรูปของตัวเลขตัวหนังสือรูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือจัดกระทำเพื่อผลของการ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศจะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆอย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ
1.ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความเสียงและภาพ เป็นข้อมูลป้อนเข้า
2.การประมวลผลเป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล จัดกระทำข้อมูล เพื่อให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้
3. การจัดเก็บ เป็นวิธีการที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และสามารถแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน
4.เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผลผลิตได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น
5.สารสนเทศผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้องตรงกับความต้องการใช้และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1.การรวบรวม(Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ ความตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2.การตรวจสอบ(Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหารวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3.การจำแนก(Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4.การจัดเรียงลำดับ(Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนดรหัสข้อมูลแล้วจำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่มเพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนีหรือสารสนเทศในขั้นต่อไปการสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของข้อมูลอีกด้วย
6.การคำนวณ(Calculating)เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กันเช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8.การเรียกใช้(Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่(Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้
1.ความเที่ยงตรง(Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดีต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2.ตรงตามความต้องการของผู้ใช้(Relevancy) หมายถึงมีเนื้อหาตรงกับเรื่องที่ต้องการใช้ของผู้ใช้
แต่ละคน
3.ทันต่อเวลา(Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นการจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือการจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคตและการจัดทำสารสนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิด



ข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล คือข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่างๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้และสามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลังข้อมูลจึงจำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ดีมีความถูกต้องแม่นยำ
สารสนเทศ หมายถึงสิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์สารสนเทศจึงหมายถึงข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่นอาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุมกำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้างนอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดีจะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บและมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเองนอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น